ฟิสิกส์อะตอม-นิวเคลียส
Atomic mass Unit
ในปี ค.ศ.1960 บรรดานักวิทยาศาสตร์ตกลงวางมาตรฐานสากลเพื่อใช้วัดมวลของนิวไคลด์(nucide) โดยกำหนดน้ำหนักอะตอมของ carbon อตอมที่เป็นกลางที่พบในธรรมชาติเป็นส่วนมาก (98.89%) ให้มีค่า = 12 พอดี และให้ 1/12 ของมวล C12 atom นี้เรียกว่า 1 Unified Atomic Mass Unit (ใช้อักษรย่อ หรือ amu)
1 amu = 1.66042 x 10-27 kg = 1.49231 x 10-10 joul
( จากหนังสือ ฟิสิกส์ยุคใหม่ เบื้องต้น โดย เย็นใจ เลาหวณิช หน้า 216 พิมพ์ครั้งที่ 2 บริษัทประชาชน จำกัด 35 ซอยพิพัฒน์ ถนนสีลม อ.บางรัก กรุงเทพ )
องค์ประกอบของนิวเคลียส
นิวเคลียสทั้งหลายประกอบด้วยองค์ประกอบเป็นอนุภาค 2 ชนิด คือ โปรตอน และ นิวตรอน ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดขององค์ประกอบทั้งสองชนิดนี้
- ประจุ โปรตอน คือ นิวเคลียสของไฮโดรเจนอตอม 1H1 ซึ่งเป็นไอโซโทปที่เบาที่สุดของไฮโดรเจน มีประจุ + e ( e = ขนาดของประจุของ 1 อิเลคตรอน )
นิวตรอนเป็นอนุภาคที่เป็นกลางทางไฟฟ้า คื มีประจุ = 0 พบเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1932 โดยนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ชื่อ James Chadwick จากการทดลองยิงอนุภาคแอลฟาไปยังโลหะเบอริลเลียม ( Be )
- มวล (rest mass)
โปรตอนมีมวล = 1.67252 x 10-27 kg
= 1.007276 amu
= 938.3 Mev = 1.503 x 10-10 joul
นิวตอนมีมวล = 1.67482 x 10-27 kg
= 1.008665 amu
= 939.6 Mev = 1.505 x 10-10 joul
โดยประมาณจะเห็นว่า โปรตอนและนิวตรอนมีมวลเท่ากัน » 1000 Mev หรือ 1 Bev ( Billion electronvolt) ( การวัดมวลในวิชาฟิสิกส์นิยมวัดเป็น amu หรือ Mev มากกว่ากิโลกรัมหรือจูล) แต่ถ้าพิจารณาโดยละเอียดจะเห็นว่าโปรตอนมีมวล น้อยกว่า นิวตรอนประมาณ 0.1 %
( จากหนังสือ ฟิสิกส์ยุคใหม่ เบื้องต้น โดย เย็นใจ เลาหวณิช หน้า 218 – 219 พิมพ์ครั้งที่ 2 บริษัทประชาชน จำกัด 35 ซอยพิพัฒน์ ถนนสีลม อ.บางรัก กรุงเทพ )
ขนาดของนิวเคลียส
จากการทดลองเรื่อง a -particle scattering ของ Rutherford พบว่าอนุภาคแอลฟาเข้าไปใกล้นิวเคลียสของทองคำได้มากที่สุดในระยะทางประมาณ 2 x 10-14 เมตร อนุภาคแอลฟาเข้าไปใกล้กว่านี้มิได้แล้ว เพราะมีแรงผลัก ( Coulomb force ) ปะทะเอาไว้ ดังนั้น การใช้อนุภาคที่มีประจุยิงไปยังนิวเคลียสไม่อาจวัดขนาดของนิวเคลียสได้ เพราะอนุภาคไม่อาจเข้าไป “ ถึง “ นิวเคลียสได้นั่นเอง ดังนั้นการวัดรัศมีของนิวเคลียสจึงจำเป็นต้องยิงนิวเคลียสด้วยอนุภาคที่ เป็นกลาง ทางไฟฟ้า คือ นิวตรอน เพื่อว่าอนุภาคนี้จะฝ่าแรงคูลอมบ์เข้าไปจนปะทะกับ “แกน “ ของนิวเคลียสได้
นักวิทยาศาสตร์คิดว่า นิวเคลียสมีลักษณะเป็นทรงกลม เพราะเหตุผลต่อไปนี้
- นิวคลีออนที่เป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสอยู่รวมกันในบริเวณที่มีขนาดเล็กมาก และจากการทดลองพบว่า แรงยึดกันระหว่างนิวคลีออนเป็นแรงระยะสั้น (short range force ) ( Coulomb และ gravitational force เป็นแรงระยะยาว )
- ทดลองพบว่าการสลายนิวเคลียสออกเป็นองค์ประกอบย่อย คือ โปรตอน และ นิวตรอน จะต้องใช้พลังงานสูงมาก จึงแสดงว่า นิวคลีออนยึดกันแน่นด้วยแรงอันมหาศาล
- ถ้ากำหนดปริมาตรมาให้ ปรากฏว่ารูปทรงกลมเป็นรูปที่มีพื้นที่ผิว น้อยที่สุด และพื้นที่ผิวน้อยที่สุดนี้ พอดีเหมาะสมกับสภาวะการยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงระยะสั้น
ทดลองพบว่าถ้านิวเคลียสต่าง ๆ มีลักษระเป็นรูปทรงกลม รัศมี R จะวัดได้ว่า
R = R0 A1/3
R0 » 1.2 x 10-15 m
A = mass number
หมายเหตุ 1. R0 แม้ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นค่าที่วัดไม่ได้แน่นอน แต่พอจะกล่าวได้ว่า 1.1 x 10-15 ³ R0 ³ 1.5 x 10-15 เมตร
- จากค่า R ที่ได้ สามารถคำนวณ “ความหนาแน่น “ ของนิวเคลียสได้ว่ามีค่าประมาณ 2 x 1017 kg/m3 หรือประมาณ 1000 ล้านตันต่อลูกบาศก์นิ้ว ซึ่งเป็นความหนาแน่นของดาวฤกษ์ประเภท “ white dwarf “
Nuclear Stability and Radioactivity
อาจแบ่งนิวไคลด์ออกไปได้เป็น 3 ประเภท คือ
- Stabilty Nuclides คือ บรรดานิวไคลด์ที่พบในธรรมชาติและมีสภาพเสถียร ไม่มีการสลายตัวด้วยตนเอง เช่น 2He4 , 8O16 , 20Ca40 เป็นต้น
- Natu rally Radioactive Nuclides คือ บรรดานิวไคลด์ที่มีในธรรมชาติแต่มีสภาพ “ อเสถียร “ (unstable ) จะสลายตัวไปเป็นนิวไคลด์ชนิดอื่นและแผ่รังสีออกมา เช่น 19K40 , 58Ce142 , 90Th232 , 92U235 , 92U238 เป็นต้น
- Artificailly – produce Radioactive Nuclides คือ บรรดา radioactive nuclides ที่ผลิตขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ หรือ เกืดจากปฎิกิริยานิวเคลียร์อื่น ๆ ที่มิใช่การสลายตัวตามธรรมชาติ ( ข้อ 2. ) เช่น 14S28 , 13Al28 , 92U239 เป็นต้น
นิวไคลด์ในข้อ 2 และ 3 เรียกรวมกันว่า radioactive nuclides ( นิวไคลด์ กัมมันตภาพรังสี ) และการเปลี่ยนแปลงหรือสลายตัวและแผ่รังสีออกมานี้เรียกว่า radioactivity หรือ “ กัมมันตภาพรังสี “ ซึ่งนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสชื่อ A. Henry Becquerel (1852 – 1908 ) ค้นพบโดยบังเอิญในปื ค.ศ. 1896 จากการแผ่กัมมันตภาพรังสีของแร่ยูเรเนียมชนิดหนึ่งเรียกว่า “ pitchblend ” จากโบฮีเมีย การค้นพบครั้งนี้กระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสสามีภรรยา คือ Pierre และ Marrie Curie ค้นพบธาตุที่มีกัมมันตภาพรังสีสูงกว่ายูเรเนียม ธาตุนั้น คือ radium (Ra ) จากผลงานเรื่องกัมมันตภาพรังสีนี้ นักวิทยาศาสตร์ทั้งสามจึงได้รับรางวัลโนเบลร่วมกันในปี ค.ศ.1903 ทางสาขาฟิสิกส์ (มาดามคิวรียังได้รับรางวัลโนเบลทางเคมีอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1911) ต่อจากนั้นนักวิทยาศาสตร์ผู้อื่นได้ค้นพบธาตุกัมมันตภาพรังสีเพิ่มขึ้น ตลอดมาจนกระทั่งในปัจจุบัน
รัทเธอร์ฟอร์ดและคณะเป็นผู้ศึกษากัมมันตภาพรังสีอย่างละเอียดเป็นครั้งแรก รังสีที่แผ่ออกมาจากสารกัมมันตภาพรังสีมี 3 ชนิด คือ รังสีแอลฟา ( ∝ – ray ) , รังสีเบตา ( β – ray ) และรังสีแกมมา (γ – ray )
Principle of Duality ใช้ได้กับนิวคลีออน เช่นเดียวกับอิเลคตรอน หรือ โฟตอน ดังนั้น รังสีที่ออกมาจากสารกัมมันตภาพรังสีก็คืออนุภาคด้วย เพราะมีสมบัติของอนุภาค แต่ในขณะเดียวกันก็มีสมบัติของคลื่นด้วย เช่น ∝ – ray อาจเรียกว่า ∝ – particle ก็ได้ β – ray = β – particle , γ – ray = γ – particle การสลายตัวของสารกัมมันตภาพรังสีเกิดเป็นรังสีทั้ง 3 ชนิดนี้ บางครั้งก็เรียกว่า ” decay “ หรือ “ emission “ คือ
∝ – radiation = ∝ – decay = ∝ – emission = ∝- disintegration
β – radiation = β – decay = β – emission = β – desintegration
γ- radiation = γ – decay = γ – emission =γ – desintegration
Alpha Particle คือ นิวเคลียสของ helium ใช้สัญญลักษณ์ 2He4 หรือ a ถูกปลดปล่อยออกมาจากนิวเคลียสด้วยพลังงานต่าง ๆ กัน มีประจุ +2e มีมวลเท่ากับนิวเคลียสของฮีเลียม ตามปกติถูกปลดปล่อยออกมาจากนิวเคลียสขนาดใหญ่ เช่น Ra เมื่อนิวเคลียสปล่อย a – particle แล้วจะมีประจุลดลง 2 หน่วย และมีมวลลดลง 4 หน่วย จึงกลายเป็นนิวเคลียสของธาตุชนิดใหม่ เช่น
88Ra226 ——————> 86Rn222 + 2He4 + Q
radium กลายเป็น radon มวลเดิมของ Ra = 226.0312 amu กลายเป็น Rn = 222.0233 amu มวลของ ∝ – particle = 4.0026 amu ดังนั้นมวลหายไปเท่ากับพลังงาน Q = c2Dm = ( 0.0053 ) x 931 = 4.9 » 5 Mev ส่วนใหญ่กลายเป็นพลังงานจลน์ของ ∝ – particle ที่ออกมาจากนิวเคลียส
สมการทั่วไปของ ∝ – decay เป็นดังนี้ คือ ถ้า ZPA เป็นนิวเคลียสเดิม เรียกว่า parent nucleus มีประจุ +Ze และ mass number A มวล Mp กลายเป็น daughter nucleus Z-2DA-4 มีประจุ + ( Z – 2 )e และมวล MD น้อยลง 4 หน่วย ด้วยการปลดปล่อย ∝ – particle ดังนั้น
ZPA —————–> Z – 2DA-4 + 2He4 + Q
Q กลายเป็นพลังงานจลน์ของ D กับ ∝ แต่ส่วนใหญ่อนุภาคแอลฟาจะรับไว้เพราะมีมวลน้อยกว่า daughter nucleus มาก คำนวณ Q ได้จากสมการ
Q = KD + K a = ( Mp + MD – M a ) c2
แม้ว่าอนุภาคแอลฟาจะมีพลังงานหลาย Mev แต่โดยเหตุที่มีมวลมากจึงเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำ ดังนั้นจึงมีอำนาจทลุทะลวงผ่านสสารไม่มาก อนุภาคแอลฟาจะถูกอากาศหนาเพียงไม่กี่เซนติเมตรดูดไว้ได้ ( คือจะเสียพลังงานไปจนหมดสิ้นเมื่อผ่านอากาศ ) หรือแผ่นโลหะบาง ๆ ก็สามารถใช้ป้องกันรังสีนี้ได้ เมื่อกระทบกับฟิล์มจะมีปฏิกิริยาเช่นเดียวกับโฟตอน คือ เกิดรอยบนฟิล์มถ่ายรูป
Beta Particles มี 2 ชนิด คือ อิเลคตรอน และโพซิตรอน ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมากใกล้ความเร็วแสง อิเลคตรอนและโพซิตรอนมี rest mass เท่ากัน แต่ประจุของโพซิตรอนเป็น + เท่ากับโปรตอน เนื่องจากอนุภาคทั้งสองชนิดนี้มีมวลน้อยมาก ดังนั้น เมื่อหลุดออกมาจากนิวเคลียสแล้วไม่ถือว่าทำให้ mass number A ของนิวเคลียสเปลี่ยนแปลงแต่ประการใด ส่วนที่เปลี่ยนแปลง คือ ประจุ ถ้าปลดปล่อยอิเลคตรอน ( หรือ negative beta decay = β– = -1e0 ) ประจุของ parent nucleus จะลดลง = – e ถ้าปลดปล่อยโพซิตรอน ( หรือ positive beta decay = β+ = +1e0 ) ประจุของ parent nucleus จะลดลง = +e
หลัก Uncertainly Principle และทฤษฎีอะตอม แสดงว่า อิเลคตรอน ( หรือ โพซิตรอน ) จะเข้าไปอยู่ในนิวเคลียสไม่ได้ ดังนั้น β – decay จึงไม่น่าจะเกิดได้ เพราะนิวเคลียสไม่มีอิเลคตรอน ( หรือโพซิตรอน ) ที่จะปลดปล่อยออกมาภายนอกได้ แต่จากการศึกษาเรื่องนี้โดยละเอียดพบว่ากระบวนการเกิด β – decay เป็นกระบวนการชนิดใหม่ ที่แตกต่างไปจากเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด กล่าวคือ β – decay เกิดจากการเปลี่ยนนิวตรอนเป็นโปรตอนหรือโปรตอนเป็นนิวตรอนภายในนิวเคลียส โดยการปลดปล่อยอนุภาค 2 ชนิด ทิ้งไป กระบวนการนี้มี 2 ประเภท คือ
(1 ) Negative Beta decay เกิดจากการที่นิวตรอน 1 อนุภาค เปลี่ยนเป็นโปรตอน โดยปลดปล่อย อิเลคตรอน กับ antinutrino ( n )
n ——————> p + e-1 + n + Q
neutron ——> proton + electron + antineutrino + energy
antineutrino เป็นอนุภาคชนิดใหม่ มีปฎิกิริยากับสสารต่าง ๆ น้อยมาก จึงพบได้ยากมีมวล = 0 ไม่มีประจุ มีความเร็วเท่ากับความเร็วแสงเช่นเดียวกับโฟตอน …….
พลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยานี้คือ Q เป็นพลังงานจลน์ของ β– และ n โดยแบ่งกันตามอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน ดังนั้น β– -particle จาก β– – decay จึงอาจมีพลังงานใด ๆ ก็ได้ ซึ่งต่างกับกรณี ∝ – decay ที่อนุภาคแอลฟามีพลังงานได้เพียงค่าเดียว ดังนั้นถ้า ZPA เป็น parent nucleus เมื่อเกิด β– – decay แล้วประจุ + จะเพิ่มขึ้น 1 หน่วยประจุอิเลคตรอน กลายเป็น Z +1DA = daughter nucleus ดังสมการ
ZPA —————–> Z +1DA + e– + n
ตัวอย่าง เช่น 6C14 —————–> 7N14 + e– + n
จะเห็นได้ว่า นิวเคลียสที่เกิด b– – decay เป็นนิวเคลียสที่มีนิวตรอนมากเกินไป จำเป็นต้องลดจำนวนลงและเพิ่มจำนวนโปรตอนให้มากขึ้นเพื่อที่จะได้กลายเป็น stable nucleus จากตัวอย่างจะเห็นว่า 7N14 เป็น stable nuclide ส่วน 6C14 มีนิวตรอนมากเกินไปจึงไม่ stable 6C14 มีบทบาทสำคัญในกระบวนการหาอายุวัตถุโบราณ ….
( 2 ) Positive Beta decay เป็นกระบวนการตรงกันข้ามกับ (1) กล่าวคือ โปรตอนในนิวเคลียสเปลี่ยนเป็นนิวตรอน โดยการปลดปล่อยโพซิตรอน ( positron = e+ = +1e0 = b+ ) กับ neutrino (n )
p ——————> n + e+ + n + Q
proton ———> neutron + electron + neutrino + energy
สมการทั่วไปที่แสดงการเปลี่ยนแปลงนิวเคลียส คือ
ZPA —————–> Z – 1DA + e+ + n
ตัวอย่าง เช่น 6C11 —————–à 5B11 + e+ + n
neutrino มีสมบัติเหมือนกับ antineutrino ทุกประการ ต่างกันเพียงฝ่ายหนึ่งเป็น “particle “ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเป็น “ antiparticle “ ซึ่งถ้าหากมาชนกัยเมื่อไร ก็จะเกิดการ “ ระเบิด “ สลายตัวกลายเป็นพลังงานหมด เช่นเดียวกับอิเลคตรอนกับโพซิตรอน อิเลคตรอนเป็น “particle “ ส่วนโพซิตรอนเป็น “ antiparticle “ ต่างกันที่ประจุฝ่ายหนึ่ง – อีกฝ่ายหนึ่งเป็น + (ในกรณีของนิวตริโนและแอนตินิวตริโน ปรากฏว่าไม่มีประจุทั้งสองฝ่าย จึงไม่มีความแตกต่างในแง่ประจุ) ถ้าอิเลคตรอนมาชนกับโพซิตรอนเมื่อไร จะเกิดปฏิกิริยา “ ระเบิด “ สลายตัวไปกลายเป็นพลังงานหมดตามสมการ
e+ + e– —————> 2 g
proton + electron ————–> 2 photon
( ใช้เครื่องหมาย γ = gamma แทนโฟตอน )
เรียกสมการนี้ว่า annihilation interaction
จะเเห็นว่านิวเคลียสที่เกิด β+ – decay มีจำนวนโปรตอนมากเกินไปหรือมีนิวตรอนน้อยเกินไป จึงไม่ stable จำต้องเปลี่ยนส่วนเกินเพื่อให้เกิด stability มากขึ้น
ตามปกติพลังงานจลน์ของβ – particle น้อยกว่า ∝ – particle แต่เนื่องจากมวลของอนุภาคนี้น้อยมาก จึงมีความเร็วสูงใกล้ความเร็วแสงและมีอำนาจทลุทลวงสูงกว่า ∝ – particle มาก สามารถทะลุแผ่นตะกั่วหนา 1 มิลลิเมตร ได้ ดังนั้น การป้องกันอันตรายจากรังสีนี้จึงต้องกระทำให้รัดกุมกว่ากรณี ∝ – ray
Decay Law
สารกัมมันตภาพรังสีทุกชนิดจะสลายตัว (disintegrate or decay) โดยปลดปล่อยรังสีและกลายเป็นธาตุชนิดอื่น…ซึ่งมี 3 ชนิด คือ ∝ – ray , β- ray และ γ – ray การสลายตัวทั้งสามชนิดนี้ มีลักษณะร่วมกัน คือ
P ——————> D + radiation
เมื่อ P = Parent nucleus
D = Daughter nucleus
P จะลดจำนวนลง และ D จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นตลอดเวลา จากการทดลองพบว่าการสลายตัวนี้มีสภาวะเป็นไปตามหลัก “สถิติ” เช่นเดียวกับการตายของคน ซึ่งมีหลักดังนี้ คือ
จำนวนคนตายใน 1 ปี (หรือ 1 หน่วยเวลา) เป็นปฏิภาคโดยตรงกับจำนวนที่มีอยู่ในปัจจุบัน คือ ถ้ามีคนอยู่มากจะมีคนตายมาก มีน้อยก็ตายน้อย จำนวนคนตายขึ้นอยู่กับ ช่วงเวลา ที่กำหนดให้ ถ้าช่วงเวลานั้นยาวมากจะมีคนตายมากกว่าช่วงเวลาสั้น ๆ
อย่างไรก็ตาม ไม่มีผู้ใดสามารถบอกได้ว่าบุคคลใดจะตายเมื่อไรแน่ แต่อาจบอกได้ในแง่ของ ความน่าจะเป็น เช่น คนหนุ่มมีความน่าจะเป็นในการตายน้อยกว่าคนสูงอายุ เป็นต้น ความจริงข้อนี้ดูได้จากสถิติคนตาย
ในกรณีของนิวไคลด์ P เปรียบเสมือนพลเมืองในรุ่นหนึ่ง ซึ่งจะต้องหมดไป และเกิดรุ่นใหม่ D ขึ้นมาแทน D ก็มีอัตราการเพิ่มทำนองเดียวกับการเพิ่มของพลเมือง
ถ้านำจำนวนนิวไคลด์กัมมันตภาพรังสี P มาศึกษาดู ปรากฏว่าจำนวนของ P จะลดลง ดังรูป 7.8 ในขณะเดียวกันจำนวนของ daughter nucleus จะเพิ่มขึ้น
จากกราฟจะเห็นได้ชัดว่า T (หรือ T1/2) คือ ช่วงเวลาที่สารกัมมันตภาพรังสีจะสลายตัวไปครึ่งหนึ่ง เรียกว่า half – life หรือ “ครึ่งชีวิต” ซึ่งมีสมบัติดังนี้
1.มีค่าต่างกัน ตั้งแต่น้อยมากขนาด 10-14 วินาที ไปจนกระทั่ง 1015 ปี
- ขึ้นอยู่กับชนิดของนิวไคลด์กัมมันตภาพรังสี
- ขึ้นอยู่กับชนิดของการสลายตัว (types of decay )
- ไม่ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมใด ๆ เช่น อุณหภูมิ ความดัน
- เป็นปริมาณที่ใช้วัด ความรวดเร็วของอัตราการสลายตัว สารใดที่สลายตัวรวดเร็วจะมีครึ่งชีวิตสั้นมาก
ถ้าเดิมมี parent radioactivity nuclides จำนวน N0 เมื่อเวลา t = 0
ต่อมา เมื่อ t = T1/2 = T จำนวนนิวไคลด์จะสลายไปเหลือ N0 / 2
t = 2 T จำนวนนิวไคลด์จะสลายไปเหลือ N0 / 4
t = 3 T จำนวนนิวไคลด์จะสลายไปเหลือ N0 / 8
…………..
ดังนั้น เมื่อเวลาใด ๆ t = nT จะมีเหลือ N = N0 / 2n